What are you looking for?
Font size Icon Icon
A
Icon
Contrast Icon
I
Icon
EA
Icon
T
กนอ. เผย ข้อร้องเรียนปี’64 ผ่าน 7 ช่องทาง ไม่พบปัญหาด้านการให้บริการ-อุบัติเหตุ กำชับทุกนิคมฯ ยกระดับความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและชุมชน!

Total readings 382 Time(s)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งการจัดการข้อร้องเรียนถือเป็นหนึ่งในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการดำเนินธุรกิจการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของ กนอ.โดยได้กำหนดนโยบายในการจัดการข้อร้องเรียน (Complaint handling policy outlines procedures) เพื่อเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานในการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทั้งนี้ ตามประกาศ กนอ. ที่ 116/2564 เรื่อง การจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ. 2564 ได้กำหนดกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดการเรื่องร้องเรียนไว้ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1.กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน 2.กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน และ 3.กระบวนรายงานผลการจัดการเรื่องร้องเรียน โดย กนอ.จำแนกประเภทเรื่องร้องเรียนเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1.ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับกลิ่น, ฝุ่นละออง, น้ำเสีย, กาก/ขยะอุตสาหกรรม 2.ด้านบริหารจัดการ เช่น ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการระบบสาธารณูปโภค, ความปลอดภัย, การจราจร/ชนส่ง 3.ด้านการให้บริการ เช่น ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการของผู้ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรม และ 4.ด้านอุบัติเหตุ

“ในปีงบประมาณ 2564 กนอ.ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 18  เรื่อง แบ่งเป็น เรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม 12 เรื่อง และด้านบริหารจัดการ 6 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จึงกำชับให้เพิ่มมาตรการกำกับโรงงานให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งให้จัดทีมเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพเสียง ในบริเวณพื้นที่ที่ถูกร้องเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ รวมทั้งกำกับให้โรงงานจัดทำแผนการตรวจสอบประสิทธิภาพและบำรุงรักษาระบบบำบัดต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนเรื่องร้องเรียนด้านบริหารจัดการนั้น เกิดจากการความไม่เข้าใจของชุมชนและผู้ประกอบการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการดำเนินงานของ กนอ. จึงทำการชี้แจงชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ให้รับทราบเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของ กนอ. และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นในการกำกับดูแลโรงงาน โดยเฉพาะมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ไม่พบเรื่องร้องเรียนด้านการให้บริการและด้านอุบัติเหตุ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี และเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management : PSM) ที่กำชับให้ทุกโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าข่าย ต้องจัดทำ PSM ให้เสร็จภายในปีนี้”นายวีริศ กล่าว

และเพื่อให้การบริหารจัดการข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กนอ.ได้กำหนดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนไว้ 7 ช่องทาง ได้แก่ 1.โทรศัพท์ กนอ./ ระบบ Call Center สำนักงานใหญ่/ SMS กลุ่มชุมชนและโรงงานในนิคมฯ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมทุกพื้นที่ 2.ยื่นเป็นหนังสือที่สำนักงานใหญ่/ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม/ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรม หรือทางไปรษณีย์ 3.เว็บไซต์ กนอ. www.ieat.go.th 4.Facebook Fanpage กนอ. 5. I-EA-T Touch Application 6.สายด่วน 1111 สำนักนายกรัฐมนตรี และ7.Line Application กลุ่มผู้ประกอบการ

Related News

Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ”กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน” และพิธีรับมอบระพุทธรูปประจำ กนอ.

รองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผวก.กนอ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ” กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน”

Icon
15
0
Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้มอบหมายให้ นางบุปผา กวินวศิน รผก.สผ. พร้อมด้วยนางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือกับ ผู้แทนจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้แก่ นางสาวนันทดา บัวคลี่ ผอ.ส่วนประสานการป้องกันยาเสพติด นายพรภณ พงษ์เพชร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางสาวกิรณา สายจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานภายใต้โครงการ ”ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และลูกจ้างในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่สถานประกอบการ

Icon
9
0
Icon
18
04.2024
กนอ. ประชุมหารือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรภายใต้สถาบัน กนอ.เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานในนิคมฯ

นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (ประจำสำนักผู้ว่าการ) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กนอ. ประกอบด้วย นายอัฏฐพล นิธิสุนทรวิทย์ ผอ.ฝยศ. นางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประกอบด้วย นายจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผอ. กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นายนที ราชฉวาง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นางสาวนุชจรินท์ สายรัดทอง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึกกองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมหารือรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การขับเคลื่อนของสถาบัน กนอ. และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)

Icon
5
0
Icon
18
04.2024
รวอ. นั่งหัวโต๊ะประชุมผู้บริหารระดับสูง อก. ครั้งที่ 5/2567 ติดตามการดำเนินงาน สำคัญในรอบ 6 เดือน ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุต

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วย นางนิภา รุกขมธุร์ รผก.ยศ. รก.รผก.พย. เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5/2567 โดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

Icon
7
0
Border