What are you looking for?
Font size Icon Icon
A
Icon
Contrast Icon
I
Icon
EA
Icon
T
กนอ.เผยผลยกระดับนิคมฯ สู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปี’64

Total readings 463 Time(s)

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยผลตรวจประเมินการเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับต่างๆ ประจำปี 2564 ย้ำทุกนิคมฯ มีส่วนร่วมพัฒนาเมืองฯ ผ่าน 5 มิติ 22 ด้าน สอดคล้องตามนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาล และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ที่เน้นใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนรอบข้าง!

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.นำแนวคิด“นิเวศอุตสาหกรรม”(Industrial Ecology) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โดยดำเนินการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปี 2553 ภายใต้ข้อกำหนด คุณลักษณะ และเกณฑ์ตัวชี้วัด การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 5 มิติ 22 ด้าน ได้แก่ 1.มิติกายภาพ 2.มิติเศรษฐกิจ 3.มิติสังคม 4.มิติสิ่งแวดล้อม และ 5.มิติการบริหาร โดยจัดทำแผนแม่บทการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสถานประกอบการ เช่น การนำน้ำเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยทิ้งมาบำบัดแล้วนำมาผลิตน้ำ RO (Reverse Osmosis) และนำกลับมาใช้ใหม่แทนน้ำประปา ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ การนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการประกอบกิจการโรงงานไปเพิ่มมูลค่าด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น เช่น นำเศษขยะทั่วไปในนิคมอุตสาหกรรมไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาปูนซีเมนต์ หรือนำตะกอนจากโรงงานไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมการสร้างอาชีพจากวัสดุเหลือใช้จากการประกอบกิจการมาดัดแปลงให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสร้างรายได้ให้กับชุมชน และส่งเสริมกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้มีการประกอบกิจการที่มีผลกำไร โดยที่ผ่านมาวิสาหกิจชุมชนสามารถทำรายได้เป็นเงินหมุนเวียนให้กับสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเป็นรูปธรรม

“แนวคิดหลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การสร้างความสมดุลระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนท้องถิ่น โดย กนอ.กำหนดคุณลักษณะมาตรฐานและเกณฑ์ตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไว้ใน 5 มิติ 22 ด้าน แบ่งการยกระดับความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ Eco-World Class / Eco-Excellence และ Eco-Champion ตามลำดับ ซึ่งหากนิคมฯ ที่ผ่านเกณฑ์และยกระดับเป็น Eco-World Class แล้ว ต้องรักษาระดับการเป็น Eco-Excellence และ Eco-Champion อย่างต่อเนื่อง ด้วยการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วม” นายวีริศ กล่าว

สำหรับในปีงบประมาณ 2564 กนอ.พัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ดังนี้ ระดับ Eco-World Class จำนวน 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย และนิคมอุตสาหกรรมหนองแค ระดับ Eco-Excellence จำนวน 3 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน  นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง) และนิคมอุตสาหกรรมผาแดง ระดับ Eco-Champion จำนวน 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย (สุวรรณภูมิ) และนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี ทำให้ปัจจุบันความสำเร็จของนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ กนอ. ระดับ Eco-Champion มีจำนวน 36 แห่ง ระดับ Eco-Excellence จำนวน 16 แห่ง และระดับ Eco-World Class จำนวน 5 แห่ง

ทั้งนี้ เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หมายถึงรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี กนอ.ดำเนินการขับเคลื่อนการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมาอย่างต่อเนื่อง และกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร ขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์ของ กนอ.ภายใต้แผนงาน 5G+ ซึ่งแผนงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์อยู่ในยุทธศาสตร์ Green ที่มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน ได้แก่ Eco Team, Eco Committee, และ Eco Green Network เพื่อร่วมวางแผนและยกระดับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศร่วมกัน

“กนอ.ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชน สังคม อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล และให้ความสำคัญกับการผลิต การบริโภคสินค้า และการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environment) ตามนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาล ด้วยการส่งเสริมปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยตั้งเป้าภายใน 5 ปี (2564-2568) จะต้องมีนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการยกระดับเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 39 แห่ง”       ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวปิดท้าย

Related News

Icon
23
04.2024
เปิดงาน GRC Day 2024

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรม กนอ. ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน GRC Day 2024 หัวข้อ GRC Make a wish ในรูปแบบ Virtual Conference พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (GRC)

Icon
6
1
Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ”กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน” และพิธีรับมอบระพุทธรูปประจำ กนอ.

รองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผวก.กนอ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ” กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน”

Icon
25
0
Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้มอบหมายให้ นางบุปผา กวินวศิน รผก.สผ. พร้อมด้วยนางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือกับ ผู้แทนจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้แก่ นางสาวนันทดา บัวคลี่ ผอ.ส่วนประสานการป้องกันยาเสพติด นายพรภณ พงษ์เพชร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางสาวกิรณา สายจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานภายใต้โครงการ ”ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และลูกจ้างในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่สถานประกอบการ

Icon
13
0
Icon
18
04.2024
กนอ. ประชุมหารือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรภายใต้สถาบัน กนอ.เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานในนิคมฯ

นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (ประจำสำนักผู้ว่าการ) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กนอ. ประกอบด้วย นายอัฏฐพล นิธิสุนทรวิทย์ ผอ.ฝยศ. นางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประกอบด้วย นายจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผอ. กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นายนที ราชฉวาง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นางสาวนุชจรินท์ สายรัดทอง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึกกองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมหารือรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การขับเคลื่อนของสถาบัน กนอ. และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)

Icon
8
0
Border