คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon

การบริหารความเสี่ยง

ในปี 2559 กนอ. มีการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ ดังนี้
1. นโยบายการบริหารความเสี่ยง

กนอ. ทบทวนคู่มือการบริหารความเสี่ยง โดยปรับเกณฑ์ประเมินด้านผลกระทบ (Impact) ให้สอดคล้องกับระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล และปรับแบบฟอร์มความเสี่ยงสำหรับการวิเคราะห์ Root Cause รายงานการวิเคราะห์ การจัดทำแผน และการประเมินติดตามแผนบริหารความเสี่ยง

2. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง

มีการระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ/ ระบบการติดตาม/ การรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Corporate Governance, Risk Management & Compliance : GRC) และคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Corporate Governance, Risk Management & Compliance : GRC) รวม 7 คณะ

3. การบริหารความเสี่ยง

ได้ทบทวนเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงทั้งด้านผลกระทบ (Impact : I) และโอกาสเกิด (Likelihood : L) และได้กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
    การดำเนินการด้านการตลาดของโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) โดยใช้กลยุทธการจัดทำแผนบูรณาการความร่วมมือโดยแต่งตั้งคณะทำงานโครงการจัดทำและพัฒนาแผนการตลาดโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) และกำหนดทีมปฏิบัติการด้านการตลาด (Marketing Team) พร้อมทั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบโดยตรง (Account Director) และมีผู้รับผิดชอบสนับสนุน ได้แก่ ทีม Marketing Communication ทีม Event และทีมพบปะ ติดตามลูกค้า เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานด้านการตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) และกำหนดแผนปฏิบัติการด้านการตลาดเชิงรุกนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ที่มีเป้าหมายชัดเจน และเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
  • ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk)
    มีการทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่นิคมฯมาบตาพุด และขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่มในพื้นที่นิคมฯภาคเหนือ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำภาคอุตสาหกรรม
    ติดตามตรวจสอบการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรม โดยกำหนดมาตรการ แนวทาง วิธีการติดตามตรวจสอบการเคลื่อนย้ายกากของเสียในทุกนิคมอุตสาหกรรม
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)
    ให้ความสำคัญในการพิจารณาฐานะการเงินในปัจจุบัน และการป้องกันผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ (Compliance Risk)
    เตรียมความพร้อมรองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยมีแผนงาน/ มาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และคำนึงถึงกฎ ระเบียบ/ นโยบายภาครัฐที่ไม่เอื้อต่อการลงทุน

4. การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM)

ทบทวน และจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) และการอบรมชี้แจงแผน BCP การซ้อมแผน BCP (Table Exercise) เสมือนจริง

เอกสารแนบ
Icon
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
ขนาดไฟล์ 0.47 MB ดาวน์โหลด 1728 ครั้ง
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย
Border