คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
โครงการนิคมอุตสาหกรรมเฮอร์มีส

ปีที่ก่อตั้ง: 2567

ผู้อำนวยการนิคมฯ: -

ผู้พัฒนานิคมฯ: บริษัท เฮอร์มีส โคออพเปอเรชั่น จำกัด

โครงการนิคมอุตสาหกรรมเฮอร์มีส

อุตสาหกรรมเป้าหมาย

การแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องจักรกล เกษตรและแปรรูปอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ โลหะและวัสดุ กิจกรรมสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน และอุตสาหกรรมสะอาดอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นการใช้และพัฒนาเทคโนโลยี

จังหวัดที่ตั้ง

ชลบุรี

สถานที่ตั้ง

โครงการนิคมอุตสาหกรรมเฮอร์มีส

พื้นที่โครงการ

1,231-1-29.4 ไร่

ระยะทางจากสถานที่ต่างๆ

รายละเอียดที่ตั้ง

ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

พื้นที่

เนื้อที่ (ไร่)

ร้อยละ

1. พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้

883-0-52.1

71.63

    1.1 พื้นที่อุตสาหกรรม

785-2-90.0

63.81

    1.2 พื้นที่พาฌิชยกรรม

96-0-96.9

7.82

2. พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค

221-0-11.4

17.95

    2.1 พื้นที่ถนน และระบบระบายน้ำฝน

44-0-27.1

 

    2.2 พื้นที่บ่อหน่วงน้ำฝน

58-0-18.8

 

    2.3 พื้นที่อ่างเก็บน้ำดิบ

28-0-98.2

 

    2.4 พื้นที่ระบบบำบัดน้ำเสีย

12-3-22.6

 

    2.5 พื้นที่บ่อพักน้ำทิ้งภายหลังการบำบัด

50-0-27.9

 

    2.6 พื้นที่ระบบผลิตน้ำปะปา

9-2-99.7

 

    2.7 พื้นที่โรงสูบจ่ายน้ำปะปา

1-1-0.0

 

    2.8 พื้นที่อาคารสำนักงาน และศูนย์แลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้

1-3-17.1

 

    2.9 พื้นที่จอดรถยนต์ส่วนกลาง 1 และ 2

5-0-0.0

 

    2.10 พื้นที่สถานีไฟฟ้าย่อย

10-0-0.0

 

3. พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน

123-0-71.1

10.00

   3.1 พื้นที่สีเขียว

30-0-25.0

 

   3.2 พื้นที่แนวกันชน

93-0-46.1

 

4. พื้นที่แนวกันชนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

5-0-59.8

0.42

รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด

1,231-1-29.4

100

สิ่งอำนวยความสะดวก

ระบบน้ำประปา

ระบบประปา

- ระบบผลิตแบบตกตะกอน การกรองและจ่ายน้ำด้วยแรงดัน มีอัตราการผลิตสูงสุด 6,700 ลูกบาศก์เมตร/วัน คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำโครงการฯ ประมาณ 6,672 ลูกบาศก์เมตร/วัน

ระบบระบายน้ำ

- ออกแบบรางระบายน้ำฝนคอนกรีต U-ditch ขนาดความกว้าง 1-4 เมตร ตามแนวถนนภายในพื้นที่โครงการ คำนวณปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ภายหลังมีโครงการ เพื่อก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำฝน จำนวน 1 บ่อ ขนาดความจุรวม 254,472 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรองรับน้ำจากพื้นที่ได้เพียงพอ

แหล่งน้ำ

- น้ำดิบจากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,000 ลบ.ม./วัน บ่อหน่วงน้ำฝน ขนาดความจุรวม 254,472 ลูกบาศก์เมตร และการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพัทยา (ชั้นพิเศษ)

ระบบถนน

- ถนนสายประธาน มีเขตทางกว้าง 36 เมตร ผิวจราจรคอนกรีตเสริม-เหล็ก กว้าง 14 เมตร 4 ช่องจราจร เกาะกลางถนนกว้าง 3 เมตร ทางจักรยานกว้าง 3 เมตรต่อข้าง และทางเท้ากว้าง 3 เมตรต่อข้าง

- ถนนสายรอง มีเขตทางกว้าง 24 เมตร ผิวจราจรคอนกรีตเสริม-เหล็ก กว้าง 4.5 เมตร 2 ช่องจราจร

ระบบบำบัดน้ำเสีย

- ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางแบบ Activated Sludge ความสามารถในการรองรับน้ำเสียสูงสุดประมาณ 5,600 ลูกบาศก์เมตร/วัน คาดการณ์ปริมาณน้ำเสียที่ต้องผ่านเข้าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง ประมาณ 5,337 ลูกบาศก์เมตร/วัน โครงการมีแนวคิดในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดไปปรับปรุงคุณภาพน้ำจ่ายให้กับโรงงานประมาณ 18% ของปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบ และนำน้ำกลับไปใช้ใหม่เพื่อรดน้ำต้นไม้ ประมาณ 9.38% ของปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบ ก่อนนำน้ำส่วนที่เหลือระบายลงสู่คลองสาธารณะ

อื่นๆ

ระบบสื่อสาร

- ใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงใต้ดิน โดยบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)

ระบบดับเพลิง

- ติดตั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงเป็นแบบเปียก (Wet Berrel) ระยะห่างวางท่อดับเพลิงแต่ละหัว 150 เมตร ขนาดท่อทางเข้าหัวดับเพลิงไม่ต่ำกว่า 150 มิลลิเมตร หัวน้ำออกขนาด 65 มิลลิเมตร พร้อมประตูน้ำจำนวน 2 ทาง จัดหาพื้นที่และรถดับเพลิงตามข้อกำหนดของ NFPA

ระบบกำจัดขยะมูลฝอยและกากอุตสาหกรรม

- ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลใช้บริการของหน่วยงานท้องถิ่น กากอุตสาหกรรมให้หน่วยงานรับกำจัดที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานรับไปกำจัด และกำหนดให้มีศูนย์บริหารจัดการกากอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ

สถานภาพโครงการ : ประกาศเขตเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567
ระยะพัฒนาโครงการ : ประมาณ 3 ปี ภายหลังจากได้รับการประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรม คาดว่าจะเปิดดำเนินการในปี 2569
แนวคิดการพัฒนาโครงการ : แนวคิดการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมเฮอร์มีส มีการออกแบบระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่ กนอ. กำหนด และคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมชั้นสูงในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)
จุดเด่นโครงการ : ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)
ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบกับพื้นที่ตั้งโครงการมีความเหมาะสมและศักยภาพของระบบโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ระบบไฟฟ้า

- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจอมเทียน เป็นผู้ให้บริการจ่ายไฟฟ้าให้กับโครงการขนาด 115 เควี เข้าสู่สถานีไฟฟ้าย่อยภายในโครงการ ความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าโหลดรวมทั้งโครงการประมาณ 100 เมกะวัตต์

Border