กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
คณะกรรมการ กนอ. มีบทบาทในการเสนอแนวนโยบาย กำกับดูแลให้องค์กรมีทิศทางการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์แก่ประเทศใน ฐานะที่เป็นกลไกการพัฒนา เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
คณะกรรมการ กนอ. ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจเอกชน หน่วยงานของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ว่าการ กนอ. ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ เป้าหมายของ กนอ. ตลอดจนกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นอกจากนี้คณะกรรมการ กนอ. เป็นผู้พิจารณากำหนด และแยกบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ ระหว่างคณะกรรมการ อนุกรรมการ และฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน โดยมีการสื่อสารบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวต่อกรรมการอนุกรรมการ และพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการ กนอ. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการ กนอ. ได้แต่งตั้งกรรมการ กนอ. เป็นกรรมการ และอนุกรรมการในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ จำนวน 9 คณะ ได้แก่
1. คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
มีหน้าที่รายงานความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน และรายงานทางการบริหารของ กนอ. รายงานผล การดำเนินงานของ กนอ. ในเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า รายงานรายการที่เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของ กนอ. และรายงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายงานการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายที่คณะกรรมการกนอ. ของ กนอ.
2. คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ กำกับ ดูแล และให้ข้อเสนอแนะ การบริหารความเสี่ยงของ กนอ. ที่ดำเนินการ โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และวางระบบควบคุมภายใน และจัดให้มี และทบทวนความเพียงพอ ของระบบการบริหารความเสี่ยง
3. คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กนอ. ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์ หาทางปรองดอง และระงับข้อขัดแย้งใน กนอ. พิจารณาปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และ กนอ. ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือ สหภาพแรงงาน รวมทั้งการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง
4. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
มีอำนาจหน้าที่เสนอแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กนอ. ต่อคณะกรรมการ/ ฝ่ายบริหาร ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการ/ฝ่ายบริหารในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทบทวนแนวทาง หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กนอ. และ มีอำนาจหน้าที่ เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กนอ. ต่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กนอ. อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากลและข้อเสนอแนะของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการเผยแพร่โครงการ/กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กนอ. รวมทั้งการมีส่วนร่วมจากชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานของ กนอ. และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ กนอ. ทุก 3 เดือน
5. คณะอนุกรรมการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
มีอำนาจหน้าที่กำหนดกลยุทธและแนวทางการดำเนินงานด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการลงทุน ในนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาบริการลูกค้ารวมถึงการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ
6. คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนงานบริหาร กนอ.
มีอำนาจหน้าที่ในด้านกลั่นกรองแผนวิสาหกิจ แผนบริหารงาน กนอ. และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ กนอ. แล้วนำเสนอคณะกรรมการ กนอ. พิจารณา
7. คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิประโยชน์ และโครงการประกอบกิจการบริการ
มีอำนาจหน้าที่อนุมัติ/อนุญาต สิทธิประโยชน์ในเขตประกอบการเสรีแทนคณะกรรมการ กนอ. ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ กนอ. กำหนด
8. คณะอนุกรรมการการเงิน งบประมาณ และการลงทุน
มีอำนาจหน้าที่พิจารณากลั่นกรองด้านการเงิน งบประมาณ และการลงทุน กำหนดกลยุทธ์ และแนวทางการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินเพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม
9. คณะอนุกรรมการกฎหมาย
มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและให้ความเห็นในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบและข้อสัญญาต่างๆ พิจารณาตรวจสอบกฎหมาย รวมทั้งกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เพื่อให้เกิดความคล่องตัวเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงมีการให้มีการประเมินตนเองของคณะกรรมการ กนอ. 3 รูปแบบ คือ แบบรายบุคคล แบบรายคณะ และ แบบไขว้
การกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการรัฐวิสาหกิจ เช่น ค่าเบี้ยประชุม เงินโบนัส เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าเครื่องแต่งตัว และค่ารับรอง เป็นไปตามข้อบังคับของ กนอ.
คณะกรรมการ กนอ . มีนโยบายให้มีการดำรงรักษาไว้ ซึ่งระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่า บันทึกข้อมูลทางการบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินและ เพื่อทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันมิให้เกิดการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างเป็นสาระสำคัญ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนอ. ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงิน ได้แก่ งบการเงินรายไตรมาสและรายปี ประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของทุน งบกระแสเงินสดและหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน บทวิเคราะห์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายงานระบบการควบคุมภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏในรายงานคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปี
สรุปมติครั้งที่ 1_61 ขนาด 114 KB ดาวน์โหลด 2840 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
สรุปมติครั้งที่ 2_61 ขนาด 114 KB ดาวน์โหลด 1928 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
สรุปมติครั้งที่ 3_61 ขนาด 117 KB ดาวน์โหลด 1848 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
สรุปมติครั้งที่ 4_61 ขนาด 112 KB ดาวน์โหลด 1821 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
สรุปมติครั้งที่ 5_61 ขนาด 85 KB ดาวน์โหลด 1903 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
สรุปมติครั้งที่ 6_61 ขนาด 92 KB ดาวน์โหลด 1845 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย |