คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
กนอ.เปิดผลประกอบการครึ่งปีแรกปีงบประมาณ 64 ตัวเลขลงทุนพุ่งแตะ 1 แสนลบ.!

ยอดการเปิดอ่าน 675 ครั้ง

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.63- มี.ค.64) มีมูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 106,146.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 78,758.09 ล้านบาท (มูลค่าการลงทุนงบประมาณปี 63 ช่วง 6 เดือนแรก อยู่ที่ 27,388.47 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 287.56 เป็นผลจากการแจ้งเริ่มประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมในช่วง 1 ถึง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องและขยายการลงทุนเพิ่ม ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนยังคงมีความต้องการขยายการลงทุนอีกมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ อุตสาหกรรมยาง พลาสติกและหนังเทียม อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่ยังคงมีการลงทุนมากที่สุดในช่วง 2 ไตรมาสของปี 2564 เช่นกัน ขณะที่มีการจ้างงานในนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 4,655 คน ซึ่งลดลงกว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 42 เนื่องจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนโดยเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น

“สำหรับการขาย/ให้เช่าที่ดินในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 ในภาพรวมประมาณ  473.75 ไร่ ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผู้ประกอบการซื้อ/เช่าประมาณ 1,398.84 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66.13 แบ่งเป็นการขาย/เช่าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 394.42 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี 79.33 ไร่ ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ในภาพรวมจะชะลอการลงทุนอยู่บ้าง เนื่องมาจากการระงับเดินทางข้ามประเทศชั่วคราว  แต่ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถจูงใจการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมได้ ประกอบกับความพร้อมของพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับภาคเอกชน จำนวน 62 แห่ง ในพื้นที่ 16 จังหวัดทั่วประเทศ และในเร็วๆนี้ จะมีนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง ซึ่งมีการลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานกับ กนอ.แล้ว และรอการประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรมในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค และนิคมอุตสาหกรรมเอ็กโก ระยอง เป็นผลให้มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสะสม 177,890 ไร่ เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่า 118,362 ไร่ เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่าแล้ว 90,657 ไร่ จึงยังคงมีพื้นที่คงเหลือสำหรับขาย/ให้เช่าอีก 27,706 ไร่ มีมูลค่าการลงทุนสะสม 4.69 ล้านล้านบาท มีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม 5,080 โรง และมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 548,682 คน”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง 13.94% ยังคงครองแชมป์การลงทุน รองลงมาคืออุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ 11.69% อุตสาหกรรมยาง พลาสติก และหนังเทียม 7.95% อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักรและอะไหล่ 7.2%อุตสาหกรรมปุ๋ย สีและเคมีภัณฑ์ 5.99 % โดยนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ถึง 37.36% รองลงมาคือนักลงทุนจากประเทศจีน 8.16 % อเมริกา 6.79 % สิงคโปร์ 6.78 % และไต้หวัน 4.11 %

อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 กนอ.มีแนวทางยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับนักลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมให้สามารถขับเคลื่อนภาคการผลิต โดยเพิ่มศักยภาพการให้บริการระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการในนิคมอุตสาหกรรม ที่ตั้งเป้าให้ทุกนิคมก้าวสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) โดยการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล (Cloud Digital Server) การขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค (Digital Meter) รวมถึงบริการต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรเพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการ ขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมโดยการส่งเสริมให้นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ(Smart Eco) เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์การค้าโลกได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กนอ.ได้ยกระดับมาตรฐานดังกล่าวให้เป็นส่วนหนึ่งในการให้สินค้าไทยมีความได้เปรียบในตลาดโลก รวมทั้งยังร่วมมือกับผู้พัฒนานิคมฯ ปรับปรุงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อีกด้วย ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวปิดท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
26
09.2567
คณะกรรมการ กนอ. และผู้บริหาร กนอ. เดินทางศึกษาดูงาน GEM Co., Ltd. เมืองเซินเจิ้น

กิจกรรม Customer’s Visit. ช่วงบ่ายของวันที่ 24 กันยายน 2567 คณะกรรมการ กนอ. และผู้บริหาร กนอ. เดินทางศึกษาดูงาน GEM Co., Ltd. เมืองเซินเจิ้น ดำเนินธุรกิจการรีไซเคิลวัสดุที่มีมูลค่า เช่น โคบอลต์ นิกเกิล และวัสดุจากแบตเตอรี่เก่า รวมถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ไม้พลาสติกคอมโพสิต (WPC) สำหรับใช้ในงานก่อสร้างและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

Icon
6
0
Icon
26
09.2567
การประชุมความร่วมมือระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเขตเซินเจิ้นแห่งประเทศจีน

การประชุมความร่วมมือระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเขตเซินเจิ้นแห่งประเทศจีน (Shenzhen Council for the Promotion of International Trade, CCPIT Shenzhen) เป็นการหารือและร่วมมือกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย

Icon
11
0
Icon
25
09.2567
เปิดงาน ECO Innovation Forum 2024 “Now Thailand : Sustainable Future ลงทุนในประเทศไทยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

รัฐมนตรีเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นประธานเปิดงาน ECO Innovation Forum 2024 “Now Thailand : Sustainable Future ลงทุนในประเทศไทยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษและมอบรางวัลให้กับนิคมฯ และโรงงานที่ร่วมขับเคลื่อนการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ยั่งยืน

Icon
28
1
Icon
25
09.2567
กิจกรรม One-on-One ณ ห้องประชุม Lilly โรงแรม Four Seasons Hotel Shenzhen เมืองเซินเจิ้น

กนอ. จัดกิจกรรม One-on-One ณ ห้องประชุม Lilly โรงแรม Four Seasons Hotel Shenzhen เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน

Icon
10
0
Border