กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
อุดรธานี วันที่ 3 ธ.ค.66 - รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วย นางนิภา รุกขมธุร์ รองผู้ว่าการ (ยุทธศาสตร์) รักษาการรองผู้ว่าการ (พัฒนาที่ยั่งยืน) เข้าร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการในคณะของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี)
โดยในจุดแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเหมืองโปแตช บริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชัน จำกัด ตําบลหนองไผ่ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 26,446 ไร่ โดยข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่าปริมาณสำรองแร่โพแทชในพื้นที่ประทานบัตรทั้งหมดรวม 267 ล้านตัน ซึ่งสามารถนำแร่ขึ้นมาผลิตเป๊นปุ๋ยโพแทชได้ประมาณ 34 ล้านตัน ทั้งนี้แร่โพแทชเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตหลักในภาคเกษตรกรรม
จุดที่สอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรชาวไร่อ้อยพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี โดยได้ระบุถึงสถานการณ์ราคาอ้อยและน้ำตาลทรายในปัจจุบัน โดยได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศอย่างไร พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด พร้อมระบุว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค.66) กระทรวงอุตสาหกรรม จะนำเสนอโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น pm 2.5 ซึ่งชาวไร่อ้อยจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 ล้านบาท จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยในขณะที่ต้นทุนการผลิตอ้อยปรับตัวสูงขึ้น
จากนั้น คณะฯ ได้ร่วมประชุมหารือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาหอการค้าจังหวัด สภาการท่องเที่ยว สภาการเกษตรแห่งชาติ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย ของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 4 จังหวัดอุดรธานี โดยได้มีการนำเสนอข้อคิดเห็นพร้อมขอความช่วยเหลือจากทางกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้การทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดได้รับการแก้ไข และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ภาคธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่
กนอ. เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อนาคต ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
กนอ. บุกไต้หวัน ดึงการลงทุนเป้าหมาย กลุ่มยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ตอบรับกระแสย้ายฐานการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ (Relocation)
กนอ. ร่วมงานวันขึ้นปีใหม่ ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2568
กนอ. สนับสนุนของขวัญและงบประมาณ ให้กับชุมชนโดยรอบ กนอ. สำนักงานใหญ่ มอบความสุขให้กับเด็กและเยาวชน ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2568