กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายเอกนัฐ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) ให้เกียรติกล่าวเปิดงานสัมมนา ประกาศจุดยืน และประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับผู้แทนภาคอุตสาหกรรมพื้นที่ Maptaphut Complex จำนวน 34 หน่วยงาน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ (Industrial Decarbonization) และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมแบบ Close loop ในพื้นที่ Maptaphut Complex โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ปกอ.) ให้เกียรติกล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของภาคอุตสาหกรรมไทยภายในปี 2065 ดร.สุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รก.ผวก.กนอ. ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ Ms. Melinda Good ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนมา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ
ในงานนี้มีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมเข้าร่วมดังนี้ ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี คณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรี และที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมของ กนอ. นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางบุปผา กวินวศิน รผก.พย. นายคณพศ ขุนทอง รผก.ปก.3 นายประทีป เอ่งฉ้วน รผก.ปก.1 นางนิภา รุกขมธุ์ รผก ยศ. นอกจากนี้ยังมี ผู้บริหารธนาคารโลก ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ธนาคาร ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวน 140 ท่าน
การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนในการผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น 1) การเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม 2) การจัดการกากของเสียแบบ Close Loop ในพื้นที่ Maptaphut Sandbox 3) การจัดเตรียม RE100 และ Green Facility เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานแก่ผู้ประกอบการ และ 4) ความร่วมมือกับธนาคารโลก (World Bank) พัฒนากลไก Carbon Finance สร้าง Carbon Credit
ภายในงานประกอบด้วยการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “กลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และโอกาสของอุตสาหกรรมไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ดร.สุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รก.ผวก.กนอ. นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายชูโชค ศิวะคุณากร Head of Environmental Social Governance and Business Stakeholder Engagement SCG Cement and Green Solution Business และนายขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสธนาคารโลกผู้รับผิดชอบประเทศไทย ร่วมเสวนา และมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Best Practices ด้าน Decarbonization
ในภาคอุตสาหกรรม” โดย Mr. Marc Forni ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Lead Disaster Risk Management Specialist, The World Bank) ได้นำเสนอแนวทางและตัวอย่างที่ดีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม
“เอกนัฏ พร้อมพันธุ์” เปิดเวที CEO Forum ชูแนวทาง Industrial Decarbonization ภายใต้โครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการไทยลดคาร์บอน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งเป้า Net Zero 2065 ผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
กนอ. ร่วมมือ บ.อินดัสทรี โปรโมชั่น จำกัด ขับเคลื่อนยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลอย่างมั่นคงและยั่งยืน ณ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (สนล.)
ผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ 3 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลฯ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพูด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ณ ห้องประชุม 501 และชมทัศนียภาพความก้าวหน้าของโครงการที่ ชั้น 16 อาคารศูนย์ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการเดินเรือ VTMS สทร. รวมทั้งลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการฯ
การสัมมนาเรื่อง “การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและการใช้งานระบบต่าง ๆ” และชี้แจง “การบริหารจัดการและแผนการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี”