กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
นางสาววิชชุดา สีมาขจร ผช.ผวก.บร นางสาวรักชริน ทองหงส์ และ ทีม กตล. ดำเนินกิจกรรมชักจูงการลงทุน Manufacturing World Nagoya 2025 "M-Tech Nagoya 2025" ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon)
ระหว่างวันที่ 6-12 เมษายน 2568 ณ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น
วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2568 เข้าเยี่ยมชมผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม บริษัท เจเทคโตะ (ไทยแลนด์) จำกัด ณ โรงงาน JTEKT Hanazono Plant ประกอบกิจการผลิตอะไหล่ยานยนต์ รับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมโรงงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)
บริษัท เจเทคโตะ (ไทยแลนด์) จำกัด ยังเป็นลูกค้าปัจจุบันในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ประกอบกิจการในกลุ่มผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ด้วย
วันอังคารที่ 8 เมษายน 2568 เข้าร่วมกิจกรรม Nagoya - Thai Japan Business Matching การจับคู่ธุรกิจภายในงานผช.ผวก.บร. ได้กล่าวเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่น และสร้างความมั่นใจการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม โดยมีผู้บริหารของหน่วยงานไทย-ญี่ปุ่น เข้าร่วมงาน อาทิ นางสาวศุธาศินี สมิตร ที่ปรึกษาด้านการลงทุน BOI ,Mr. Hirano Shuichi, Director-General, Chubu Hokuriku Regional Head Office Chief Director, JETRO Nagoya และ Ms. Watanabe Yuka, Chairman, Aichi Industry Promotion Organization (AIBSC)
ณ Nagoya Marriott Associa Hotel
กิจกรรมดังกล่าวมีบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทไทยเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ มากกว่า 35 บริษัท มีการเจรจาธุรกิจ 47 คู่ คาดว่าจะมีมูลค่าเชื่อมโยง ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอิเล็ทรอนิกส์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและชิ้นส่วน
ทั้งนี้ พบว่านักลงทุนญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มสนใจการลงทุนในประเทศไทย และต้องการหา Supply Chains เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฐานอุตสาหกรรมเดิมในประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ ความน่าเชื่อถือของภาครัฐ เป็นต้น
ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2568 ทีมกองการตลาดออกบูธนิทรรศการในงาน M-Tech Nagoya 2025 ณ Port Messe (Nagoya International Exhibition Hall) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีการออกบูธจากต่างประเทศ เช่น China Pavillion, Taiwan Pavillion และ Thailand Pavillion
โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุนของไทยเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ นายชนินทร์ ขาวจันทร์ นายกสมาคม Thai Subcon, นางสาวศุธาศินี สมิตร ที่ปรึกษาด้านการลงทุน BOI, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ได้แก่ WHA นำโดยนางสาวลัดดา โรจนวิไลวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ และนายอนุวัฒน์ จารุกรสกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ที่ดินและอาคารอุตสาหกรรม, AMATA นำโดย Mr. Osamu Sudo Acting Chief Marketing Officer, ROJANA ได้แก่ Mr. Tatsuya Osaka และ Mr. Taiki Yamanuki รวมถึงผู้ประกอบการจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ กว่า 8 บริษัท เข้าร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ภายในบูธ Thailand Pavillion
สถิติภาพรวมงาน M-Tech Nagoya 2025 ในครั้งนี้ มีบริษัทเข้าร่วมกิจกรรมออกบูธมากกว่า 650 บริษัท ผู้เข้าชมงานสะสมมากกว่า 33,000 คน ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม Mechanical Components, Materials, Automotive and Parts, Purchasing, Production Engineering เป็นต้น
ซึ่งมีผู้สนใจเข้ามารับฟังข้อมูลในบูธ Thailand Pavillion อย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจลงทุนในประเทศไทยจากนักลงทุนญี่ปุ่นในปัจจุบัน
กนอ. พื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ เชิญผู้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นอัตราค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย
กนอ. ต้อนรับนักลงทุนสัญชาติจีนที่สนใจศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศไทย
“สุเมธ” ประกาศความสำเร็จครึ่งปีงบประมาณ 68 เดินตามแผนยุทธศาสตร์-นโยบาย“รมว.อุตฯ“ ลดขั้นตอน -เร่งรัดขอจัดตั้งนิคมฯ อวดคืบหน้า “Smart Park นิคมฯอัจฉริยะ”วางโครงสร้างพื้นฐานพลังงานยุคใหม่ ปูทางสู่ Smart Grid หนุนพลังงานหมุนเวียนเต็มสูบ เน้นสร้างระบบนิเวศน์โรงงาน-ชุมชน-สิ่งแวดล้อม พา SMEs โตอย่างแข็งแกร่ง-ยั่งยืน
ผู้บริหาร กนอ. ร่วมกิจกรรมการเผาทำลายยาเสพติด ณ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ